น่าน สันติสุข
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)  |  
 

บอกข่าวมาบอกมีเครื่องบินของนกแอร์จากเชียงใหม่ มาน่าน และน่านไปเชียงใหม่แล้ว หาดูข้อมูลได้ที่ นกแอร์น่ะค่ะ

 

สายการบินโซล่าแอร์ เตรียมเปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-น่าน คาดให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์เดือนกรกฎาคมนี้


สายการบินโซล่าแอร์ เปิดบินกรุงเทพฯ-น่าน ดีเดย์เที่ยวแรกกรกฎาคม

หลังจากสายการบินพีบีแอร์ ได้หยุดทำการบินแบบไม่มีกำหนด ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน ปัจจุบันเหลือเพียงสายการบินนกมินิ เท่านั้นที่ให้บริการ โดยเปิดเที่ยวบินน่าน-เชียงใหม่ เป็นเครื่องบินเซสนา ขนาด 12 ที่นั่งบินวันละ 2 เที่ยวบิน แต่เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก และบินในระยะสั้น

ขณะที่ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะภาคเอกชนยังคงต้องการเครื่องบินใหญ่กว่า และให้บริการบินสายน่าน-กรุงเทพฯ เหมือนเดิม เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องไปต่อเครื่องบินที่ จ.เชียงใหม่ เข้ากรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง สร้างผลกระทบในการติดต่อและประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในท้องถิ่นอย่างมาก

ล่าสุด บริษัท โซล่า เอวีเอชั่น จำกัด ผู้บริหารสายการบินโซล่าแอร์ โดยกัปตัน จิราทิตย์ อ่องอารี กรรมการผู้จัดการฯ ได้เข้าหารือกับนายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และนายวรศักดิ์ วงศ์วรกุล สภาอุตสาหกรรม จ.น่าน และนายสาธิต บุญทอง หอการค้า จ.น่าน เพื่อขอให้บริการสายการบินในจังหวัดน่าน เส้นทางบินกรุงเทพฯ-น่าน ไป-กลับ วันละ 1 เที่ยวบิน

กัปตันจิราทิตย์กล่าวว่า บริษัทได้สำรวจและพบว่า ข้าราชการ นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป มีความต้องการใช้บริการสายการบินเส้นทางบินกรุงเทพฯ-น่าน เป็นจำนวนพอสมควร นอกจากนี้ยังพบว่านักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติ ให้ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดน่าน แต่สายการบินหลักไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ ต้นทุนสูง ผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงลดเที่ยวบินและงดทำการบินไปในที่สุด

ตรงนี้ บริษัทฯ เห็นศักยภาพการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของจังหวัดน่านตามลำดับ จึงจัดหาอากาศยานที่มีขนาดและราคาที่เหมาะสม มีความเป็นธรรมและตรงต่อเวลาไว้ให้บริการ โดยเป็นอากาศยานขนาดกลางจำนวน 18 ที่นั่ง แบบเจ็ตใบพัด 2 เครื่องยนต์ กำลังแรงม้ารวมอยู่ที่ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีเพดานบินสูงสูดอยู่ที่ 31,000 ฟุต เหมาะกับการบริการการบินจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การหารือร่วมกันครั้งนี้เป็นไปด้วยดี ทุกภาคส่วนต่างเห็นชอบหากจะมีสายการบินเส้นทางการบินกรุงเทพฯ-น่าน-กรุงเทพฯ คาดว่าจะสามารถเปิดตัวทำการบินเที่ยวแรกได้ในเดือนกรกฎาคมนี้

ด้านนายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า สนามบินน่านซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสนามบินเชื่อมระหว่างประเทศ โดยสายการบินลาวเปิดเที่ยวบินน่าน-หลวงพระบาง-เดียนเบียนฟู อีกทั้งยังมีสายการบินพาณิชย์หลายสายใช้บริการ อาทิ การบินไทย, อันดามันแอร์ และพีบีแอร์ แต่ทุกสายการบินยกเลิกหมดส่งผลกระทบต่อภาคสังคมธุรกิจเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม การเปิดสายการบินครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมด้านการท่องที่ยว การค้า การติดต่อประสานงานทางธุรกิจ การค้าชายแดน การลงทุนภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และทางภาคราชการ ได้อย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ

นอกจากนี้ ท่าอากาศยานจังหวัดน่านมีแผนที่จะปรับขยายพื้นที่ ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่รองรับการใช้บริการมากขึ้น จากปัจจุบันอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ประมาณ 1,003 ตารางเมตร โดยห้องพักอาคารผู้โดยสารขาออก สามารถรองรับการใช้งานได้ 80 คน ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานน่านได้ โดยในอนาคตหากจังหวัดมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและสายการบินอื่นๆ เข้ามาร่วมบินให้บริการเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ จะทำให้ท่าอากาศยานน่านมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกกว่า20%

ที่มา : http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000074840

(bigpeanut) 2009114_46893.jpg

ถั่วแดงเป็นถั่วเมล็ดแข็งประเภทบีน (bean) มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ถั่วแดงชนิดที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ ถั่วแดงหลวง หรือชาวบ้านเรียกกันว่าถั่วอีโต้

ซึ่งเมล็ดมีขนาดใหญ่กว่าถั่วแดงทั่วไป รูปร่างคล้ายไต นิยมนำมาใช้ทำขนมและของว่าง

สรรพคุณของถั่วแดง ถั่วแดงมีฤทธิ์เป็นกลาง รสหวาน มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

แก้ลมพิษ ดีซ่าน บวมน้ำ เหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อและบวม กำจัดหนอง แก้อาหารเป็นพิษ รักษาอาการลำไส้อักเสบหรือถ่ายเป็นเลือด

ถั่วอีโต้ เป็นผักพื้นบ้านที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก และเริ่มหายากแล้ว ถั่วอีโต้เป็นถั่วขนาดใหญ่ยักษ์ฝักมีขนาดใหญ่มากๆ

รูปร่างเหมือนอีโต้ฝักอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้เช่นเดียวกับถัวพลู ส่วนเมล็ดที่แก่แล้ว มีขนาดใหญ่ยักษ์แบบในภาพ

สามารถนำมาทำขนมได้เช่นเดียวกับถั่วแดง ที่สวนนี้มีทั้งบวบ มะเขือและผักปลอดสารพิษตามฤดูกาล

ใครอยากได้เมล็ดพันธุ์ถั่วอีโต้

 (bigpeanut) 2009114_46999.jpg(bigpeanut) 20091217_47000.jpg

 (bigpeanut) 2009114_46943.jpg(bigpeanut) 2009114_46971.jpg (bigpeanut) 2009114_47055.jpg

(bigpeanut) 2009114_47148.jpg (bigpeanut) 2009114_47117.jpg

 

 

 Nan in North go to Longprabang in Loas

ออกทางห้วยโก๋น ค่าธรรมเนียมด่านไทย 10 บาท

ต่อคน ด่านลาว 5000 กีบ (ถ้าเงินไทยที่ด่านคิด 25 บาท

ครับ 200กีบ ต่อ 1บาท ,

ที่หลวงพระบางแลกได้ 249.63 กีบ ต่อ 1บาท)

จะขับ 4WD ไปเองก็ได้แต่ต้องทำเรื่องนำรถข้ามแดนก่อน

ถ้าจะไปหลวงพระบางทางถนน ทางเป็นทางดินแดง ลูกรัง

บางช่วงกำลังทำใก้ลเสร็จแล้วค่ะเพิ่งไปหงสามา ช่วงนี้หน้าฝน

ทางเละควรระวัง(คนลาวบอกว่า บางช่วงต้องพันโซ่เลยทีเดียว)

ไปหลวงพระบางทางเรือ จากด่าน เหมา 4WD ไปลงเรือที่ ท่าซ่วง ครับ

เค้าคิด 1500 บาท ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าจะไปเรือช้าต้องไปถึงท่าซ่วงให้ทัน

11โมงครับ ไม่งั้นต้องเหมาเรือเร็วไปอย่างเดียว(ใครที่คิดแวะเที่ยวหงสาก็ไม่เลว

บรรยากาศเงียบสงบมีตลาดเช้าและตลาดเย็นให้ได้เดินเที่ยวชมใครชอบผ้าทอ

ต้องเดินเที่ยวชมตลาดเช้าชาวเขานำผ้าทอมาขายถูกมากมีผ้าพันคอเสื้อ  ถนนหลัง

ตลาดเช้าจะมีเฮือนพักราคาไม่แพงสะอาดสะดวกสบายสำหรับคนที่มาและพักนอน

ถ้าขับรถจากน่านไปหลวงพระบางรวดเดียว (ผ่านเมืองเงิน หงสา จนเกือบถึงไชยบุรี

จะมีทางแยกไปหลวงพระบาง ถึงท่าช่วงเอารถขึ้นแพใหญ่ข้ามน้ำโขงแล้วขับต่อจนถึง

หลวงพระบาง ระยะทางรวม สองร้อยกว่ากิโลเมตร แต่ใช้เวลาราว 7 - 9 ชั่วโมง

ย้ำเอกสารพาสปอร์ทรถหรือพาสปอร์ทคน ต้องอยู่ในสายตาตลอด ห้ามไว้ใจใครแม้แต่

 จนท.ฝั่งลาวมีคนเล่ามาจากเวปน่ะค่ะอ่านไว้ไม่เสียหลาย

" ผมโดนมาแล้ว เกือบไม่ได้เข้า ต้องแอบจ่าย 1,000 บาทเพื่อให้ได้เอกสารคืน

เสียเวลาไป 2 ชม.คำอ้างจาก จนท.ว่า "ไม่เห็น เจ้าไม่ได้ให้ ไม่ได้รับ

หรือให้ไปกรอกข้อมูลก่อนแล้วค่อยมาเอาสมุดคืน ระวัง ระวัง" จ่ายเสร็จ รอ 40 นาที

แอบมายัดคืนไว้ในรถ เพื่อนผมสังเกตเห็น และผมก็จำได้ว่า จนท.พูดอะไรไปบ้าง"

คนลาวส่วนมากใจดีมากมาก...ค่ะน่ารัก..มีไม่กี่คนที่ฉกฉวยโอกาส

ใครใจดีอย่าเอาเงินไปแจกเด็กน่ะค่ะไม่ถึงมือเด็กหรอกเดี๋ยวผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับเชิญ

จะมาฉกเงินที่เราเพิงให้เด็กไปทางที่ดีเสื้อผ้าเก่าที่เราไม่ใช้หรือของกินดีกว่าน่ะค่ะ

มีพี่ใจดีให้เบอร์ไว้สอบถามเส้นทางไปค่ะ

"ถ้ายั้งงงๆเรื่องเส้นทางก็โทรมาคุยได้นะครับที่ 06-3801272 06-3801272 ครับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม ทำใบผ่านแดนได้ที่ ตม. ด่านห้วยโก๋น 054 779012-3

หรือที่ศาลากลางจังหวัดในเวลาราชการ ใก้ลกับวัดช้างค้ำ วัดภูมิทร์ นั้นแหละหาง่าย

ด่านห้วยโก๋น

- ด่านเปิด 8.00-17.00 น.

- ค่าทำใบผ่านแดน 10 บาท สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 ใบ (ใบผ่านแดนใช้ในลาวได้ 3 วัน ถ้าอยู่นานกว่านี้

ให้ติดต่อ ตม.ลาวที่หลวงพระบาง)

- ค่าธรรมเนียมรถยนต์ไม่เกิน 4 ล้อ 50 บาท สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ

- ผ่านได้เฉพาะคนไทย ลาว

สรุปค่าใช้จ่าย

1. ฝั่งไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น

2. ฝั่งลาว ค่าธรรมเนียมประกันภัยรถคุณ ราคาแตกต่างกันแล้วแต่จำนวนวันที่คุณมา (ในตัวอย่าง 7 วัน ) ประมาณ 60000 กีบ (240 บาทโดยประมาณ)

2.1 ค่าธรรมเนียม (รถ+คน) ผ่านด่านเข้าเมือง คนละ 200 บาท (อันนี้คิดผู้ติดตามในรถทุกคน ยกเว้นคนขับไม่เสีย) เช่น พ่อ-แม่-ลูก พ่อคนขับไม่เสีย แม่-ลูก รวม 2 คน 400 บาทเป็นต้น

2.3 ค่าธรรมเนียมที่ใช้พาสปอร์ตในการเข้าเมืองอีก คนละ 10 บาท

รวมแล้วมีแค่เนี่ยแหละจริงๆ ค่าอนุญาตนำเที่ยวที่หลายคนสอบถามมา ไม่เสียครับ

(แต่คุณจะเสียเท่าที่ว่าก็ต่อเมื่อคุณมาแบบส่วนตัว

หมายความว่า มากันเองแค่ 1 คัน หรือไม่เกิน 3 คัน นะ)

ถ้าบางท่านแย้งว่า อยากมาเป็นคาราวานแต่ตอนผ่านด่านก็ทำเป็นต่างคนต่างมา (ลักไก่ว่างั้นเถอะ) ได้ไหม๊? ก็ได้ครับ แต่ถ้าคุณข้ามมาฝั่งลาวแล้วคุณต่อขบวนตามกันเมื่อไหร่ ตำรวจท่องเที่ยวก็จะมาต่อขบวนจับคุณด้วย เพราะฉะนั้นถ้าทำเป็นต่างคนต่างผ่านด่านเวลาขับไปไหนก็ต้องต่างคนต่างขับไปด้วย เพราะตามเส้นทาง เช่นมาหลวงพระบางจะมีด่านตรวจคุณครับ (หลายๆคนเคยโดน) ถ้าไม่อยากเสียเงินค่าปรับ+เสียเวลา ก็ทำตามขั้นตอนเค้าแหละครับ ถ้าคุณมาแบบเป็น คาราวานอันนี้ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าไกด์ ค่าอนุญาตนำเที่ยว ค่าตำรวจนำและอื่นๆๆๆ ซึ่งผมจะไม่ลงรายละเอียดนะครับ เพราะข้อมูลไม่เป็นประโยชน์กับคนหมู่มาก ด่านลาวบ้านน้ำเงิน

- ด่านเปิด 8.00-17.00 น

- ค่าใบผ่านแดน 50 บาท

- ค่าธรรมเนียมรถยนต์ 4 ล้อขึ้นไป 250 บาท ค่าทำประกันภัยรถยนต์ลาว

70 - 100บาท

- ผ่านได้เฉพาะคนไทย ลาว

- ห่มนำอาวุธทุกชนิด, เครื่องมือสื่อสาร, กล้องถ่ายรูป(ยกเว้นกล้องแบบอัตโนมัติ) -ไม่เคร่งครัดมากเพราะผมเอาโทรศัพท์มือถือเข้าไปแต่โทรไม่ได้เลย

ขับรถเลนขวาน่ะค่ะอย่าลืมเด้อ มีปั้มน้ำมันที่ ไชยบุรี, หลวงพระบาง

ห้วยโก๋น-เมืองเงิน 4 กม.

เมืองเงิน - หงสา 34 กม. 1.30 ชม.(รถยนต์นะไม่ใช่เกวียน)

หงสา - ไชยบุรี 95 กม 3.30 ชม.

ไชยบุรี - ท่าเดื่อ 40 กม. 1.30 ชม.

ท่าเดื่อ - หลวงพระบาง จำไม่ได้ คิดว่า 60 กม. 2.00 ชม.

ความว่าจะมาต่อเรือเร็วมาก่อน11โมงเช้าน่ะค่ะ

เสื้อสีขาวอย่าใส่เลยน่ะสงสารคนซักเสื้อผ้า

ฝุ่นแดงเยอะมากแบบลดแลกแจกแถมเลยล่ะค่ะ

ที่ท่าซ่วงไปหลวงพระบางใช้เวลาเดินทางราว 4 -5 ชั่วโมง

 

 หนาวนี้มาดู ต้นก่วมภูคา ( Acer wilsonii Rehder)

ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

เป็นพืชหายากลักษณะไม้ต้นผลัดไป สูง15-25 เมตร

ใบอ่อนสีแดงเว้าเป็น 5 แฉก

ใบแก่สีเขียว 3 แฉกเป็นพืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ล

 (puka) 20091011_76081.jpg(puka) 20091011_76051.jpg(puka) 20091011_75442.jpg

ขอขอบคุณwww.nanamulet.com
เป็นภาพเมืองน่าน และเจดีย์ที่สำคัญของเมืองน่านบ้านเราในอดีตกาล



รูปที่1 ตลาดเมืองน่านในอดีต





รูปที่2 ตลาดตอนเช้าเมืองน่านในสมัยนั้น (กาดเจ๊กสอน)

รูปนี้น่าจะอยู่ประมาณพ.ศ. 2460-2474




รูปที่3 โรงแรมน่านฟ้า เรือนไม้ 3ชั้นหนึ่งเดียวของเมืองน่านสมัยนั้น

ปัจจุบันยังเปิดทำการอยู่




โรงเรียนศรีสวัสดิ์เดิมก่อนจะย้าย ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรศรีน่าน






เจ้าสุริยะ ณ น่าน




ระธาตุตะโก หรือ ตะโก้ง อยู่บริเวณวัดพระธาตุเเช่เเห้ง สร้างใจสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ (เจ้าสุริย ณ น่าน) จำลองมาจากเจดีย์ชเวดากองเมืองพม่า




เจดีย์วัดสถารส (สี่แยกช้างเผือก)




เจดีย์วัดบงสนุก



เจดีย์วัดพระวังคีรี




2รูป นี้มีไว้ ยกย่องพระเกียติรคุณของท่าน(หลวงพ่อดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน)

ถ้าใครมีเหรียญหลวงพ่อดอนตันรุ่งแรกแล้วจะค้าขายดีมากๆ

 


มีใครรู้บ้างว่าช่องจีโอกราฟฟิคมาถ่ายทำสารคดีกว่างที่อำเภอปัว

(กว่างตัวนั้นชื่อว่าคิงคองตอนนี้ตายไปแล้ว)

และได้รับรางวัลชนะเลิศ ณ ประเทศสิงคโปร์

เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่กีฬาพื้นบ้านทำให้คนทั่วโลกสนใจ

ใกล้งานเทศกาลโลกของกว่างแล้วน่ะอย่าลืมแวะเวียนมาดูมาชม

 กว่าง : นักสู้แห่งขุนเขาหรือศึกชิงนาง....?

 
ชนกว่าง : เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลานานแล้วจนกลายเป็นประเพณี แต่จะเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎ ปัจจุบันยังมีการเล่นกันอยู่แต่อาจจะไม่มากเท่ากับในอดีต
การเล่นชนกว่างของชาวล้านนานิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เฉพาะในฤดูฝนคือประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พอออกพรรษาแล้วก็ค่อยๆเลิกราปล่อยกว่างกลับสู่ธรรมชาติ เพื่อสืบลูกสืบหลานเพื่อการเกิดใหม่ในปีหน้าตามวัฏจักรของมัน
กว่าง : กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี ๖ ขา กว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา กว่างจะชอบกินน้ำหวานจากอ้อย กว่างบางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม
 

วงจรชีวิตของกว่าง
กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม กว่างทั้งตัวผู้และตัวเมียจะขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อมาผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดินจนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงค์ชีวิตสืบลูกหลานต่อไป
การจับกว่าง
ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม–ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านในสมัยก่อนมีเวลาว่าง เพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลังตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การหากว่างหาได้จากตามสุมทุมพุ่มไม้หรือป่าในเขตของหมู่บ้านที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้
อีกวิธีหนึ่งคือการตั้งกว่างหรือใช้กว่างล่อ โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบนหรือใช้กล้วยน้ำหว้าใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน การแขวนไม่ให้สูงมาก ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อ จะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนให้เข้ามาหาเพื่อติดกับโดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ถ้าเป็นกว่างโซ้งก็นำไปเลี้ยงไว้เพื่อชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็เก็บไว้เป็นกว่างล่อ ถ้าเป็นกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป๋องและใส่อ้อยข้างในเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน
ชนิดของกว่าง
กว่างมีหลายชนิดเช่น
กว่างก่อ กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้กันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายมาขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งมักจะชนะทุกครั้ง โดยปกติแล้วกว่างก่อนี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงไม่นิยมนำมาชนแข่งกัน
กว่างกิ หมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น(กิแปลว่าสั้น) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่สามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิมี 2 ชนิดคือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุ
กว่างงวง : กว่างหน่อ กว่างงวงหรือกว่างหน่อคือด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าวมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง : เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก
กว่างโซ้ง : กว่างโซ้ง ตัวผู้มีเขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบน ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ซี่ ๆ” ตลอดเวลา นิยมใช้ชนกัน
กว่างแซม : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก กว่างชนิดนี้เลี้ยงไว้เป็นคู่ซ้อมหรือให้เด็กๆเล่นกัน
กว่างฮักหรือกว่างรัก : กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกว่างแซม กว่างชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกัน เพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้งไม่ได้ ดังที่ว่า “กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้”
กว่างดอยหล่อ : ดอยหล่อเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมา จึงมีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่หมู่บ้านดอยหล่อเพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี
กว่างแม่อีหลุ้ม : คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด,กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่างตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย
กว่างหนวดขาว : ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อกันว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาก็จะถอดหนี คือไม่ยอมเข้าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่งหนวดขาวมาก็พยายามยอมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่างทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำเมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออกอีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี
กว่างหาง : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ่ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่งกว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกันแต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่ากันว่ากว่างหางจะไม่เก่งเท่ากว่างโซ้ง
การเลี้ยงกว่าง
เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า “ไม้ผั่นกว่าง” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป “ชายน้ำเหมย” คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง
การชนกว่าง : อุกรณ์การชนกว่าง
1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกันทำด้วยต้นปอหรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมียจากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี “กลิ่น” ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกทีเพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน
ไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่งทำด้วยแกนปอ หรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลบางประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่งเจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็กเพื่อเป็นช่องนำกว่างตัวเมียใส่ ให้หลังของกว่างตัวเมียโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่า ๆ กัน ทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกัน
2.ไม้ผั่น : ไม้ผั่นกว่าง : ไม้ผัด: ไม้แหล็ดหรือไม้ริ้ว ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา “ผั่น” หรือปั่นให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง“กลิ้ง ๆ”ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้าเขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนองหรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง
ลักษณะของกว่าที่จะนำมาชน
ลักษณะกว่างโซ่งที่ดีนั้นต้องมีหน้ากว้าง กางเขาออกได้เต็มที่เขาล่างจะยาวกว่าเขาบนนิดหน่อยถ้าเขาล่างยาวกว่าเขาบนก็จะเรียกว่า “กว่างเขาหวิด” ถือว่าหนีบไม่แรงไม่แน่นกว่างชนที่ดีนั้นส่วนหัวต้องสูง ท้ายทอยลาดลงเป็นสง่า แต่ถ้าท้ายทอยตรงโคนเขาบนเป็นปมไม่เรียบ ถือว่าเป็นกว่างไม่ดี กว่างที่ดีต้องเป็นกว่างที่ฉลาดสอนง่าย
ก่อนที่จะนำกว่างมาชนกันนั้น จะต้องนำกว่างมาเทียบขนาดและสัดส่วนที่เรียกว่า เปรียบคู่ กันเสียก่อน เมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้ว เจ้าของกว่างจะต้องขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกลโกง
ในการชนกว่างแต่ละครั้งมักจะมีการวางเดิมพันกันเพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น กว่างที่ชนะก็ทำให้เจ้าของมีหน้ามีตา แต่ถ้ากว่างแพ้แล้วอยู่ที่เจ้าของว่าจะเลี้ยงต่อหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ
ปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาติ
กว่างเมื่อได้เกิดออกจากดินมาเป็นเวลาประมาณ 3 เดือนแล้ว ก็ใกล้จะหมดอายุขัยแล้ว ตามธรรมเนียมที่เคยทำกันมา เมื่อออกพรรษาแล้วจะนำกว่างตัวเมียมาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ มีกว่างตัวเมียอยู่กี่ตัวก็จะเอามาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ทุกตัว แล้วนำทั้งกว่างตัวผู้และตัวเมียไปใส่ไว้ในตะกร้าที่มีกล้วยอ้อย นำไปแขวนไว้ตามชายคาบ้านหรือใต้ต้นไม้ ตกกลางคืนกว่างทั้งหลายก็จะผสมพันธุ์กันตามวิสัย แล้วกว่างตัวเมียจะบินไปสู่บริเวณที่เป็นเนินดินแล้วขุดลงไปไข่ไว้ในดิน หลังจากไข่แล้วกว่างตัวเมียก็จะฝังตัวตายอยู่ในที่นั้น ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัวหนอนและเป็นกว่างในปีต่อไป

รายการNavigator December 31, 2008 3/3


(Root) 2009610_44979.jpg วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
(borth) 2009713_45194.jpgอ่างเก็บน้ำบ้านน่านมั่งคงอำเภอสันติสุข


(nan) 200973_49869.jpg

ชมพูภูคา แหล่งเดียวที่พบเห็นได้บนดอยภูคา จ.น่าน
นี่คือที่เดียวในโลกซึ่งสามารถพบเห็น
ดอกไม้ชนิดนี้
ชมพูภูคาพันธุ์ไม้ที่ได้ชื่อว่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลกชนิดที่ดอยภูคา จ.น่าน
พันธุ์ไม้ชนิดนี้จึงหลงเหลืออยู่ในโลกเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ประเทศไทย ในรอบ 1 ปี พันธุ์ไม้ชนิดนี้จะออก

ดอกสีชมพูเป็นช่อสวยสดใสเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้นต้องไปดู





(borth) 2009713_45346.jpg

(borth) 2009713_45062.jpg

(borth) 2009713_45099.jpgดอยผาจิ น่าน


(nan) 200973_50448.jpgสระบัวในหุบเขา อำเภอสันติสุข

(nan) 200973_6160.jpgดอกปอเทือง


(borth) 2009713_45455.jpg

หวัดดีค่ะหนูเป็นควายปอนชอบกินเกลือเม็ดมากๆ

(Root) 2009610_53099.jpg

ล่องแก่งหลวงลำน้ำว้า (ตอนล่าง)
แก่งหลวงอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่จริมบ้านทรายมูล หมู่ 5 ตำบลน้ำปาย ห่างจากตัวอำเภอแม่จริม 16 กิโลเมตร ใช้เส้นทางแม่จริม-น้ำมวบ เป็นการล่องแพตามลำน้ำที่มีความลึกเฉลี่ย 3 เมตร ในช่วงฤดูแล้งน้ำใสสะอาด ไหลผ่านเกาะแก่งต่างๆ ตั้งแต่ระดับ 1-3 สนุกได้ตลอดทั่งปี สามารถล่องได้ทั้งแพไม้ไผ่และแพยาง

จุดเริ่มต้นของการล่องแพไม้ไผ่ เริ่มตั้งแต่บ้านน้ำว้าหมู่ที่ 5 ต.น้ำพาง ห่างจากอ.แม่จริม ประมาณ 10 กม. (ห่างจากตัวจังหวัดน่าน 48 กม.) ล่องไปถึงบ้านน้ำปุ๊ ระยะทาง 4 กม. แล้วล่องต่อไปยังบ้านทรายมูล หมู่ 5 ต.น้ำปายอีก 4 กม. ใช้เวลาล่องแพทั้งหมด 4 ชั่วโมง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม อุทยานฯ มีบริการบ้านพักรับรอง ลานกางเต็นท์บนหาดทราย ริมน้ำที่มีทัศนียภาพสวยงาม เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และนั่งช้างชมไพร

จุดเริ่มต้นของการล่องแพยางที่เหมาะสมสำหรับลำน้ำว้าตอนล่าง เริ่มต้นจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ไปถึงบ้านหาดไร่ อ.เวียงสา ช่วงนี้ผ่านแก่งต้นไทร แก่งหลวง ที่สนุกและตื่นเต้น ได้ชมความหลากหลายของพรรณไม้ นานาพันธุ์สองฝั่งลำน้ำว้า สามารถล่องแพยางได้ตลอดทั้งปี

ล่องแก่งลำน้ำว้า (ตอนกลาง)
ด้วยระยะเวลา 3 วัน 2 คืน นับเป็นความท้าทายสำหรับผุ้ว่ายน้ำเป็น และมีประสบการณ์ในการล่องแก่ง การล่องแก่งลำน้ำว้าตอนกลาง เป็นกิจกรรมการล่องแก่งแพยางท่ามกลางสายน้ำอันเชี่ยวกรากในลำน้ำว้าที่มีเกาะแก่งตั้งแต่ระดับ 1-5 ตามมาตรฐานสากลกว่า 100 แก่ง อยู่ในเขตป่าดิบอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติขุนน่าน และอุทยานแห่งชาติแม่จริม ตลอดเส้นทางล่องแก่งประมาณ 80 กม. พบแต่ธรรมชาติป่าดิบอันอุดมสมบูรณ์ น้ำตกเล็กๆ สองฟากฝั่งน้ำว้า นอกจากนี้ยังสามารถเดินป่าไปเที่ยวชมน้ำตกภูฟ้าที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของเมืองน่านได้อีกด้วย

จุดเริ่มต้นล่องแก่งลำน้ำว้าตอนกลาง เริ่มจากบ้านสบมาง อ.บ่อเกลือ สิ้นสุดที่แก่งวังลูน บ้านหนองแดง อ.แม่จริม

ฤดูล่องแก่งอยู่ในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม , กันยายน - มกราคม , เดือนสิงหาคม ของทุกปี งดทำการล่องแก่ง

 แก่งที่ท้าทาย ได้แก่
- แก่งผาหลวง เป็นแก่งที่มความยากระดับ 3 - 4 ลักษณะแก่งแก่งเป็นรูปตัว s
- แก่งเสือเต้น (บ้านสบมาง) เป็นแก่งที่มความยากระดับ 3 - 4 มีก้อนหินใหญ่อยู่กลางลำน้ำ
- แก่งไฮจ้ำ เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3 - 4 มีก้อนหินกลางลำน้ำ และมีสายน้ำทิ้งตัวลงสูงเกือบเมตร
- แก่งสบห้วยปึง เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3 - 4 "แก่งทำลายกับข้าวมื้อเย็น"
- แก่งเสือเต้น (บ้านห้วยลอย) เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 2 - 3
- แก่งสบห้วยเดื่อ เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3 - 4 แก่งนี้ค่อยข้างอันตรายเป็นโค้งหักศอก
- แก่งผีป่า เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 4 - 5 สายน้ำจะมีความรุนแรงมาก ลักษณะเป็นน้ำตกสองชั้น สายน้ำเป็นรูปตัว s
- แก่งผารถเมล์ ความรุนแรงในระดับ 4 - 5
- แก่งสองแคว เป็นแก่งหักศอกตัว s ความ รุนแรงไม่เท่าไหร่ แต่จะโค้งหักศอก คุ้งน้ำที่โค้งเป็นรูปตัวเอส สายน้ำที่ผ่านแก่งหินช่วงนี้แปรเปลี่ยนไปเป็นยอดคลื่นสูงติดต่อกันยาวเกือบ ๆ สามสิบเมตร
- แก่งเสือเต้น (แม่จริม) ถ้าน้ำเยอะจะมีไฮโดรตัวละห้าพัน เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3
- แก่งโดด หรือแก่งโต๋น เป็นสายน้ำลดระดับ และสุดท้ายทิ้งตัวลงสูงเมตรเศษ ๆ
- แก่งสร้อย แก่งระดับ 4 - 5 ถ้าน้ำเยอะ ๆ ไม่มีใครกล้าล่องเรือลงแก่งนี้เด็ดขาด
- แก่งวังลุน หรือ แก่งยาว ความยากในระดับ 4 - 5 เป็นแก่งที่มีสายน้ำลดระดับลงไม่น้อยกว่า 30 เมตร สายน้ำที่ลดระดับลงสลับกับทิ้งตัวเป็นชึ้นเล็ก ๆ ทำให้เกิดลูกคลื่นขนาดมหึมา ยิ่งช่วงท้ายของแก่งที่เป็นผาหินบีบให้สายน้ำแคบลง ยิ่งทำให้สายน้ำเชี่ยวกรากและเดือดพล่านมากขึ้นอีกเท่าตัว

ติดต่อล่องแก่ง
1. แพยาง

  • น่านทัวริ่ง
    438 ถ.สุมนเทวราช ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
    โทร. ,

    www.nantouring.com
     

  • เอสกิโมโรล
    40/1 ถ.หน่อคำ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
    โทร. ,

    www.kayakraft.com

  • ริเวอร์ราฟท์
    50/5 ถ.หน่อคำ อ.เมือง จ.น่าน
    โทร. ,

  • น่านปางช้าง
    468-9 ม.4 ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน
    โทร. ,

  • แจง&เจทัวร์
    27 หมู่ 4 ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน
    โทร. ,

  • กลุ่มแพยางในอ.แม่จริม ติดต่อที่ว่าการอ.แม่จริม
    โทร.

  • อุทยานแห่งชาติแม่จริม
    โทร.

2.แพไม้ไผ่
ติดต่อที่ว่าการอำเภอแม่จริม โทร.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเขต 2
โทร. 0 5374 4674-5 โทรสาร
E-mail : tatchrai@tat.or.th

ที่สุดในเมืองไทย สุดยอดผจญภัยไปล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง จ.น่าน
การจัดระดับความยากง่ายของแก่งตามมาตรฐาน “American Whitewater Affiliation” สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ระดับดังนี้

ระดับ 1 : ง่ายมาก (Easy) สายน้ำไหลเร็วม้วนตัวเป็นเกลียว และมีคลื่นเล็ก ๆ มีอุปสรรคกีดขวางเล็กน้อย แต่มองเห็นชัดเจน และหลบเลี่ยงได้ง่าย

ระดับ 2 : ธรรมดา (Novice) มีแก่งที่ทอดตัวตรงไปข้างหน้า มีช่องให้เรือผ่านที่กว้างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องไปสำรวจแก่งก่อน อาจจะมีอุปสรรคเช่น ก้อนหิน หรือคลื่นขนาดกลางที่จำเป็น ต้องหลบหลีกบ้างในบางครั้ง แต่ก็สามารถหลบผ่าน ไปได้ง่าย
ระดับ 3 : ปานกลาง (Intermediate) เริ่มมีแก่งพร้อมคลื่นขนาดกลางที่หลบหลีกได้ยาก และสามารถท่วมซัดขึ้นบน เรือยางได้ การหลบหลีกอุปสรรคจึงมีความซับซ้อนในกระแสน้ำเชี่ยวรวมถึงการบังคับควบคุม เรือยางให้ ผ่านช่องทางอันเฉพาะเจาะจง คลื่นลูกใหญ่หรือไม้ล้มขวางลำน้ำอาจจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็พอหลบหลีกได้

ระดับ 4 : ยาก (Advanced ) แก่งรุนแรงทรงพลัง แต่ยังอยู่ในวิสัยที่พอคาดการณ์ได้ว่าจะเจออะไร ซึ่งการบังคับคุม เรือยาง ในกระแสน้ำที่พลุ่งพล่านนี้ ต้องเป็นไปอย่างกระชับเที่ยงตรงมากทีเดียว ความยากระดับนี้ ยังต้องดูลักษณะของแม่น้ำสายนั้น ๆ อีกหลายประการ เช่น จะต้องเผชิญคลื่นขนาดใหญ่ หรือโพรงน้ำม้วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจจะต้องบังคับเรือหลบหลีกอุปสรรคอย่าง รวดเร็ว เพื่อผ่านช่องที่เปิดให้เล็กน้อย แก่งเกรดสี่เริ่มมีระดับความเสี่ยงอันตรายที่เราต้องพยายามหาทางป้องกัน การสำรวจตรวจสอบก่อนที่ลงแก่งนั้นๆ เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการลอยตัวอยู่ในน้ำ มีระดับปานกลางถึงสูง และภาวะของสายน้ำอาจจะทำให้ยากต่อการช่วยตัวเอง
ระดับ 3 : ปานกลาง (Intermediate) เริ่มมีแก่งพร้อมคลื่นขนาดกลางที่หลบหลีกได้ยาก และสามารถท่วมซัดขึ้นบน เรือยางได้ การหลบหลีกอุปสรรคจึงมีความซับซ้อนในกระแสน้ำเชี่ยวรวมถึงการบังคับควบคุม เรือยางให้ ผ่านช่องทางอันเฉพาะเจาะจง คลื่นลูกใหญ่หรือไม้ล้มขวางลำน้ำอาจจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็พอหลบหลีกได้

ระดับ 4 : ยาก (Advanced ) แก่งรุนแรงทรงพลัง แต่ยังอยู่ในวิสัยที่พอคาดการณ์ได้ว่าจะเจออะไร ซึ่งการบังคับคุม เรือยาง ในกระแสน้ำที่พลุ่งพล่านนี้ ต้องเป็นไปอย่างกระชับเที่ยงตรงมากทีเดียว ความยากระดับนี้ ยังต้องดูลักษณะของแม่น้ำสายนั้น ๆ อีกหลายประการ เช่น จะต้องเผชิญคลื่นขนาดใหญ่ หรือโพรงน้ำม้วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจจะต้องบังคับเรือหลบหลีกอุปสรรคอย่าง รวดเร็ว เพื่อผ่านช่องที่เปิดให้เล็กน้อย แก่งเกรดสี่เริ่มมีระดับความเสี่ยงอันตรายที่เราต้องพยายามหาทางป้องกัน การสำรวจตรวจสอบก่อนที่ลงแก่งนั้นๆ เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการลอยตัวอยู่ในน้ำ มีระดับปานกลางถึงสูง และภาวะของสายน้ำอาจจะทำให้ยากต่อการช่วยตัวเอง
ระดับ 5 : ยากมาก (Expert) ช่วงอุปสรรคที่จะต้องเผชิญมีระยะที่ยาวมากๆ หรือแก่งที่รุนแรงมากๆ ในระดับที่เข้าข่ายอันตรายเรืออาจทิ้งตัวลงกระแทกคลื่นหรือโพรงน้ำม้วนขนาดใหญ่ที่่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจกระโจนลงน้ำตกสูงชันตามช่องทางที่ไม่เปิดให้อย่างราบรื่นนัก แก่งอาจต่อเนื่องเป็นระยะทางที่ยาวนานมาก การลอยตัวอยู่ในน้ำเป็นเรื่องอันตราย และการให้ความช่วยเหลือก็ทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะกระทำโดยผู้ชำนาญก็ตาม การล่องแก่งเกรดห้าต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเหมาะสมครบถ้วน และทีมงานต้องมีประสบการณ์ขั้นสูง
ระดับ 6 : อันตราย (Extreme) เกรด 6 เป็นระดับที่ยาก และอันตรายเกินกว่าที่จะลง ล่องแก่งได้ อย่างไรก็ตามสำหรับทีม ผู้ชำนาญที่มีการสำรวจ และเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี การล่องแก่งเกรด 6 ในช่วง โอกาสที่ระดับน้ำเหมาะสมก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน

(Root) 2009610_53099.jpg

อุทยานแห่งชาติแม่จริม

อยู่ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย และอำเภอแม่จริม ตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ และตำบลน้ำมวบอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามคือ

ล่องแก่งที่น้ำว้า เป็นกางล่องแกงโดยใช้แพยาง (ลำละไม่เกิน ๘ คน)มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ถึงจุดสิ้นสุด(ปางช้าง)ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงหรือสิ้นสุดที่หาดบ้านไร่ ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ตลอเส้นทางเป็นแก่งน้อยใหญ่หลากหลายให้ผจนภัยและเล่นน้ำกว่า ๑๐ แก่ง สองข้างทางเป็นป่าไม้และหาดทรายอันอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีสวนหินและหุบเขา และทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดข้างทาง สามารถล่องแก่งได้ตลอดทั้งปี

 

"น้ำว้าตอนกลาง" ที่สุดของสายน้ำสำหรับการ ล่องแก่ง ของเมืองไทยด้วยความยาวกว่า ๑๕ ก.ม. ตื่นเต้น เร้าใจกับการพาย เรือยาง ฝ่าแก่งเดือดตลอด 3 วัน ผจญแก่งหินกว่าร้อยแก่งตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 5 ตามมาตรฐานสากล พร้อมสัมผัสกับธรรมชาติสองฝากฝั่ง น้ำตกสายเล็ก ๆ ที่ไหลเลาะลดหลั่นลงมาตามหินผา พรรณไม้นานาชนิด ตื่นตากับกำแพงหินรูปร่างแปลกตา สามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศแคมป์ปิ้งริมสายน้ำว้า

ใครที่ชื่นชอบการล่องแก่งที่เมืองน่าก็มีสวยและน่าตื่นเต้นปีที่ตัวผู้เขียนไปราคาประมาณ600แต่มันก็ผ่านมา4ปีแล้วใครจะไปก็ต้องเตรียมตัวกันหน่อยน่ะค่ะ

แต่เดิมน้ำว้าเป็นแหล่งหาอาหารของชาวบ้านในอำเภอแม่จริมและอำเภอใกล้เคียงปลาที่อร่องจะต้องมาจากน้ำว้า ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าแหล่งน้ำอื่น แต่ชาวบ้านก็นิยมนำมาประกอบอาหารไม่ว่าจะ กบ เขียด ของป่า ต่างๆถือว่าเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์

อยากให้ผู้ที่มาเยือนทุกท่านโปรดอย่าได้ทิ้งขยะตามแหล่งท่องเที่ยว จะทำให้เราสามารถเป็บไว้ให้ลูกหลานเรามีโอกาสได้ชื่นชมสัมผัสกับสิ่งลำค่าทางธรรมชาติเหล่านี้

เช่นเสื้อผ้าก็ต้องเป็นเสื้อที่สวมใส่สบายสำหรับผู้หญิงใส่เสื้อแขนยาวได้ก็จะดีเพราะเวลากระเสน้ำแรงอาจมีอุบัติเหตุเล็กน้อยเช่นโดนไม้พายหรือเล็บของเพื่อนหรือแขนขากระทบกันอาจทำให้เกิดรอยฟกช้ำได้ เดียวจะไม่สวย กางเกงควรเป็นผ้าที่แห้งง่ายไม่อุ้มน้ำแค่นี้ก็ลุยได้แล้วค่ะ

น่าน ล่องแก่ง ลำน้ำว้า
ขอนำท่านสัมผัส ผืนป่า อุทยานแห่งชาติแม่จริม ของจังหวัดน่าน โลดแล่นด้วยเรือยาง
โดยทีมงานผู้ชายพายเรือ เหนือสายน้ำว้า สนุกสนาน กับเกาะแก่ง ตื่นเต้น กับแก่งหลวงผาหน่อ แก่งตึก แก่งโตน เล่นน้ำ ณ บ้านหาดไร่ ชมผืนป่าสองฟากฝั่งลำน้ำว้า ที่งดงาม

อัตรานี้รวมบริการ 1.) ค่าเรือยางล่องแก่ง 2.) ชูชีพ + อุปกรณ์
3.) ค่าอาหาร 1 มื้อ 4.) ค่าประกันการเดินทาง
5.) ค่าธรรมเนียม 6.) ค่าเจ้าหน้าที่ควบคุมเรือยาง
7.) ค่าเครื่องดื่ม และ ผลไม้

สิ่งที่ควรนำไป รองเท้าสวมสบาย /ชุดลำลอง /ครีมกันแดด /ยารักษาโรคประจำตัว /อื่นๆ

 


(nan) 200973_49693.jpg(nan) 200973_49752.jpg


(borth) 2009713_45251.jpgอ่างเก็บน้ำบ้านน่านมั่นคงจังหวัดน่าน

(borth) 2009713_45398.jpg


(Root) 2009610_44881.jpg


(nan) 200973_50093.jpg

(borth) 2009713_45566.jpgภาพถ่ายการแข่งขันเรือยาวปี พ.ศ.2516


(nan) 200973_5332.jpg

 

(nan) 200973_50566.jpg(borth) 2009713_45006.jpg

มาเที่ยวกันหน่อยให้เศรษฐกิจมันคึกคัก ช่วยกันพี่น้องครับ...คนไทย

การค้าขายชายแดนระหว่างชายแดนไทย-ลาวที่บริเวณด่านสากลห้วยโก๋น ตำบลห้วย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน กลับมีชีวิตชีวาคึกคักขึ้นมาอีกครั้งในวันเสาร์ที่ผ่านมา เนื่องจากไทย-ลาวจัดการแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อบุคคลพิเศษและด้อยโอกาสตามตะเข็บชายแดน เพื่อเชื่อมความสามัคคี ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่บริเวณด่านสากลห้วยโก๋นฝั่งไทย ซึ่งมีพ่อค้า แม่ค้าจากลาวนำสินค้าพื้นบ้านและผลผลิตการเกษตรจำพวกผัก ผลไม้ เห็ด พริก กระเทียม ยาสูบมาขายให้พ่อค้าและนักท่องเที่ยวฝั่งไทยที่มาจากจังหวัดน่านเองและจากต่างจังหวัด

(nan) 200973_50199.jpg(nan) 200973_50061.jpg

ตลอดจนชาวต่างประเทศทางยุโรป และทางพ่อค้า แม่ค้า ตลอดจนนักท่องเที่ยวทางลาวซื้อสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ปุ๋ยและน้ำมัน ไปใช้และขายยังฝั่งลาว ทำรายได้ให้แก่ทั้งสองประเทศในช่วงวันหยุดนี้ไม่ไม่ต่ำกว่าล้านบาททั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้การค้าที่บริเวณด่านห้วยโก๋นเริ่มซบเซา หลังจากที่เปิดเป็นด่านสากล โดยแม่ค้าฝั่งไทยบอกว่า เกิดจากทางการลาวได้มีการขึ้นภาษีขาเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจากฝั่งไทยมากเป็น 2-3 เท่าตัว จากที่เคยเก็บชิ้นละ 100 บาท เพิ่มเป็น 200-300 บาท ทำให้คนลาวหรือพ่อค้าแม่ค้าชาวลาวไม่สามารถแบกรับภาษีนี้ได้จึงทำให้ปริมาณการซื้อขายลดน้อยลงหลายเท่าตัว เศรษฐกิจที่เคยคึกคักก็กลับซบเซา ประกอบกับได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย

อำนา นางมิตรกมล มานะกิจ แม่ค้าชาวไทยบอกว่า ช่วงหลังจากที่ด่านห้วยโก๋นเป็นด่านสากลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2551 ที่ผ่าน การค้าขายเริ่มซบเซาเนื่องจากทางลาวจัดเก็บภาษีขาเข้าประเทศมากขึ้นเป็น 2-3 เท่าตัว ทำให้ธุรกิจชายแดนได้รับความเดือดร้อนมาก จึงขอให้ทางการทั้งสองฝ่ายหาทางแก้ไขด้วย โดยเฉพาะปริมาณการค้าที่เคยหมุนเวียนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 2 ล้านบาท เฉพาะสินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพ่อค้าแม่ค้าด้วยกัน ยกเว้นวัสดุก่อสร้างที่บริษัทใหญ่ไปก่อสร้างในลาวและความสามารถในการซื้อลดลงไปด้วย
ด้านท่านสมสนุก ไชยคำมูล เจ้าเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว กล่าวว่า การเก็บภาษีดังกล่าว เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เข้าสู่ระบบภาษีของสากล อย่างไรก็ตามก็จะมีการพูดคุยกันระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีและทำให้การค้าและเศรษฐกิจตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศดีและมั่นคงต่อไป.

ผู้ประกาศ :ศูนย์ข้อมูลลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่มา :ปาริฉัตร์ สองสียนต์/สวท.น่าน

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Wednesday, 01 July 2009 )

(nan) 200973_50935.jpgทางขึ้นพระธาตุเขาน้อย

การออกเดินทาง....ไปท่องเที่ยว(borth) 2009713_44943.jpg

ก็ทำให้คนเรา...หายเครียดไปได้เยอะเลย

(nan) 200973_5332.jpg

วันนี้ไปเจอดอกไม้ที่คล้ายกับดอกForget menot (จะเป็นสีม่วง)

แต่ดอกป๋อเทืองจะมีสีเหลืองสวยสดมองดูเหลืองอร่ามไปหมด

ดอกป๋อเทือง ดอกไม้ชนิดนี้จะมีอายุประมาณสามเดือนชาวบ้าน

ปลูกไว้เป็นปุ๋ยโดยให้ลำต้นแก่ก่อนจึงทำการไถกลบทับ

ใครที่หยุดหลายวันก็มาแอ่วเมืองน่านที่อำเภอสันติสุขได้

ดอกนี้จะปลูกอยู่ที่นาข้างถนนหมู่บ้านสบยาง อำเภอสันติสุข

ใกล้ อบต.ป่าแลวหลวง ไร่ดอกทานตะวันมาเจอ ป๋อเทืองบ้าง

แล้วจะรู้ว่าใครสวยกว่ากัน/2 jun 09/

(nan) 200973_5363.jpg(nan) 200973_6160.jpg

 

Cool ปฏิทินการท่องเที่ยว

๑ มกราคม ทำบุญปีใหม่ ที่ข่วงเมืองน่านหน้าวัดภูมินทร์

เดือน กุมภาพันธ์ -มีนาคม งานประเพณีปีใหม่ม้ง (บ้านปางแก อำเภอทุงช้าง หรือบ้านป่ากลาง อำเภอปัว บ้านดอนไพรวัลย์ อำเภอสันติสุข มีการละเล่นที่น่าสนใจที่แปลกหาดูได้ยาก)

เดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม เทศกาลผ่อดอกชมพูภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคาช่วงนี้บนดอยจะมีอากาศไม่หนาวมากแต่ก็ควรเตรียมเสื้อกันหนาวถ้านั้งรถยนต์กระบะขึ้นดอยจะได้รับบรรยากาศที่สะอาดบริสุทธิ์สวยงามที่สำคัญอาจจะได้จับปุยเมฆปุยหมอกที่ลอยไปมา

เดือนมีนาคม งานประเพณีหกเป็งไหว้พระธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน ราว ๑๑-๑๕ ค่ำ จะมีงานสมโภชเฉลิมฉลองและนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง มีกิจกรรมการสรงน้ำ เวียนเทียน การแข่งทำโคมแขวน แข่งซอกำเมือง(ร้องเพลงซอเป็นภาษาเหนือ) แข่งตีกลองแอว แข่งป้องไฟดอก และดอกไม้ไฟ

๑๓ เมษายน งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง(สงกรานต์)สรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาลโดยอันเชิญรูปองค์จำลอง แห่ไปทั่วเมืองให้ประชาชนสรงน้ำและสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ในงานจะมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่นพิธีสะเดาะเคราะห์สืบชะตาเมืองการแห่ตุง การประกวดนางสงกรานต์ ขบวนแห่ พร้อมมหรสพเฉลิมฉลองปี๋ใหม่เมือง

๑๓-๑๖ เมษายน ช่วงเช้าจะมีการฟังเทศน์ฟังธรรมนี้แต่ละอำเภอก็จะจัดงานรำวงโบราณบ้าง บางที่มีฉายหนังกางแปงบ้างตามแต่ละท้องถิ่น

เดือนกันยายน งานตานก๋วยสลาก วัดช้างค้ำวรวิหาร

ประมาณเทศกาลเข้าพรรษาจะมีงานแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน นัดเปิดสนาม

เดือนตุลาคม หลังออกพรรษาจะมีงานแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน นัดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ใหญ่ประจำปีมักจัดเพื่อเฉลิมฉลองในงานตานก๋วยสลาก งานทอดกฐินพระราชทาน การแข่งเรือเมืองน่านเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เรือที่เข้าทำการแข่งขันจะเป็นรูปพญานาคซึ่งไม่เหมือนจังหวัดใดๆ

งานตานบุญหลวง อำเภอสันติสุข มีขบวนแห่ของแต่ละตำบลมีการฟ้อนเล็บ การแสดงตลกล้อเลียนในขบวนแห่การแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง มีขบวนซอขับร้องซึ่งขบวนแห่ยาวมากแห่ต้งแต่เช้าจนถึงเย็น

เดือนธันวาคม งานประเพณีลอยกระทง เทศบาลเมืองน่าน

เทศกาลส้มสีทองและของดีเมืองน่านโดยจะเป็นงานกาชาดน่านร่วมด้วยจะอยู่ประมาณปลายเดือนธันวาคมมีการประกวดนางสาวน่านและกิจกรรมต่างๆหลากหลาย การออกร้านขายของดีแต่ล่ะอำเภอ

(Root) 2009611_57141.jpg

 (nan) 200973_49997.jpg(nan) 200973_49869.jpg(nan) 200973_50448.jpg(nan) 200973_5424.jpg

ข้อมูลที่ได้นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ ส่วนใหญ่รวบรวมมาจากแผ่นพับ , เอกสารนำเที่ยว และวารสารต่างๆ จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นที่รวม ของข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด
ถ้าหากมีบทความหรือรูปภาพใดของท่าน มีลิขสิทธิ์ ขอท่านโปรดแจ้งมาเพื่อผมจะได้แก้ไขต่อไป ประสงค์ที่จะแนะนำแหล่งท่องเที่ยว หรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งข้อมูลของท่านได้ที่

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวน่าน

E-mail :

kaminar_jeje@hotmail.com

Tel .

 

Fax .

0-5471-0232

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดน่าน
ศาลากลางจังหวัดน่าน ถนนสุริยพงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000

(nan) 200973_50061.jpgนาขั้นบันได อำเภอทุ่งช้าง

เที่ยววัดในเมืองน่าน

น่าน เมืองเล็กแต่ไม่เล็กดินแดนแห่งล้านนาตะวันออกซึ่งมีความเก่าแก่รุ่นเดียวกับสุโขทัย

มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมารวมทั้งสิ้น 59 พระองค์ เมืองน่านมีชื่อเดิมว่า "นันทบุรีศรีนครน่าน"

หรือ "วรนคร" สร้างขึ้นโดยพญาภูคาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบในเขตตำบลศิลาเพชร

(nan) 200973_50448.jpgสระบัวในหุบเขา

(nan) 200973_50632.jpgไร่ข้าวโพด

อำเภอปัวในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ของการสร้างเมืองน่านกล่าวว่า ในปีพ.ศ. 1902 สมัยพญาการเมืองได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาจากกรุงสุโขทัย ทรงเลือกดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุพร้อมกับย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่

บริเวณเชิงดอย ต่อมาในราวปีพ.ศ. 1911 แม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทิศทาง พญาผากองราชบุตรพญาการเมืองจึง

ได้ย้ายเมืองอีกครั้งโดยมาตั้งที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน

เมืองน่านแม้จะเป็นเมืองเล็กก็จริง แต่ก็รักษาตัวอยู่ได้ตลอดสมัยสุโขทัยจนกระทั่งสมัยกรุงศรีอยุธยา

ทางอาณาจักรล้านนาไทยมีกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์นี้มีพระประสงค์ที่จะแผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ จึงได้กรีฑาทัพมาตีเมืองน่าน เจ้าอินต๊ะแก่นท้าว ซึ่งครองเมืองน่านอยู่

ในเวลานั้นไม่สามารถต่อต้านกองทัพพระเจ้าติโลกราชได้ จึงทิ้งเมืองและพาครอบครัวอพยพมาอยู่ที่เมืองเชลียง

เมื่อพระเจ้าติโลกราชตีเมืองน่านได้นั้น ระยะแรกเมืองน่านมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา

แต่หลังจากที่พระยาผาแสง เจ้าผู้ครองนครน่าน ราชวงศ์ภูคาองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ฐานะของเมืองน่านกลายเป็น

หัวเมืองในราชอาณาเขตของอาณาจักรล้านนา พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดส่งเจ้าเมืองที่อยู่ใน

เขตการปกครองของพระองค์ผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเมืองน่าน นับแต่หมื่นสร้อยเชียงของ เมื่อปีพ.ศ. 2005

เป็นต้นมาจนถึงสมัยพระยาพลเทพฤาชัยในปีพ.ศ. 2079 พงศาวดารกล่าวว่า ทรงสร้างวัดหลวงกลางเวียง-

วัดช้างค้ำ

ความมหัศจรรย์ของเมืองน่านก็คือวัฒนธรรมของไทลื้อที่อพยพเข้ามาจากสิบสองปันนาเมื่อกว่า 200 ปีก่อนจนวัฒนธรรมของไทลื้อนี้เองได้กลายเป็นจุดเด่นของจังหวัดน่านที่นักท่องเที่ยวหลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่ง

ปรากฏร่องรอยทางประวัติศาสตร์ให้ได้พบเห็นตามวัดวาอารามต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเมืองน่าน นอกจากนั้นยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังระดับมัสเตอร์พีทของวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผากับวัดภูมินทร์ ฝีมือช่างสกุลไทลื้อที่มีอายุมาก

กว่า 150 ปี ว่ากันว่าภาพเขียนจิตรกรรมของจังหวัดน่านสวยสดงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศหาที่ใด

เสมือน หากใครที่มาเยือนน่านแล้วไม่ได้ไปนมัสการวัดในเมืองน่านก็ยังนับว่ามาไม่ถึงเมืองน่าน วัดสำคัญที่

ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ วัดพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานสำคัญที่สุดมีอายุกว่า 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้าง

ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากสุโขทัย องค์พระบรมธาตุแช่แห้งบุด้วยทองเหลือง

ปิดด้วยทองคำเปลวหมดทั้งองค์ เป็นพระธาตุราศีของคนเกิดปีเถอะ นอกจากนั้นมีวัดสำคัญอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่

กลางเมืองน่านคือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พญาภูเข่งเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1949 รูปแบบของพระธาตุ

ช้างค้ำเป็นเจดีย์ซึ่งเป็นรูปช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ เป็นศิลปสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังมี

พระพุทธรูปปางลีลาคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุณี มีส่วนผสมของทองคำถึง 65 % สูง 145 เซนติเมตร

สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 1969 โดยเจ้างั้วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14

ตรงข้ามกับวัดช้างค้ำ

(watpumin) 2009611_57453.jpg

(watpumin) 2009611_57432.jpg

เป็นวัดภูมินทร์ สร้างขึ้นโดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ความโดดเด่นของวัดนี้ไม่เหมือน

กับวัดอื่นคือเป็นพระอุโบสถและวิหารในตัว รูปทรงอาคารแบบจตุรมุขมีนาคสะดุ้ง 2 ตัว เทินพระอุโบสถไว้

ในวิหารหลวงซึ่งสร้างเป็นแบบจัตุรมุขมีพระประธานจัตุรทิศคือ พระพุทธรูปปิดทองปางมารวิชัย 4 องค์หันพระ

ปฤษฏางค์ชนกัน นับเป็นลักษณะเด่นที่ไม่มีที่ใดในล้านนาเหมือน ภายในวิหารหลวงวัดภูมินทร์ มีภาพจิตรกรรม

ฝาผนังสกุลช่างล้านนาที่หาชมได้ยาก ซึ่งเขียนเรื่องคัทธกุมารชาดกและเนมิราชชาดก ซึ่งทั้งหมดอยู่ใน

ปัญญสชาดก รจนาขึ้นโดยพระเถระชาวล้านนาและแพร่หลายทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ


นอกจากนี้ยังมีวัดสำคัญของชาวไทลื้อ วัดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกับวัดภูมินทร์ คือ

(watpumin) 2009611_57408.jpg(watpumin) 2009611_58197.jpg

วัดหนองบัว ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้านภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเช่นเดียวกับวัดภูมินทร์ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยเดียวกัน หมู่บ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้านของชาวไทลื้อ นอกจากจะประกอบอาชีพทำนาแล้ว ยามว่างชาวบ้านยังทอผ้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำของชาวไทลื้อก็คือ ผ้าทอลายน้ำไหลได้อย่างสวยงามอีกด้วย

เมื่อมาเยือนเมืองน่าน ลองแวะเข้าไปเที่ยววัดสำคัญของน่าน นอกจากจะได้ชมความสวยงามของศิลปะไทลื้อ

แล้วยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของเมืองน่านแห่งนี้ด้วย

แม้หลายคนจะพูดถึงเมืองน่านไม่ใช่ในฐานะของเมืองผ่านทาง แต่เป็นเสมือนเมืองที่มีลักษณะเป็นใส้ติ่งที่ยื่น

ออกไป ซึ่งหากใครที่จะเดินทางมาเยือนเมืองนี้ก็ต้องมีความตั้งใจมา จนมีคำพูดเล่น ๆ จากผู้อาวุโสหลายท่านใน

เมืองน่านว่า "ถ้าแม้น่านจะเป็นเมืองใส้ติ่งที่ยื่นออกไป แต่ใส้ติ่งนี้จะเป็นถุงเงินที่ได้จากนักท่องเที่ยวในยามเดิน

ทางมาเยือนเมืองน่านแห่งนี้"


จักรพงษ์ คำบุญเรือง

(Root) 2009610_45014.jpg

ลักษณะเด่นของโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทลื้อ

คือ การวางหลังคารูปทรงตะคุ่มลาดต่ำและลดหลั่นลงมาที่ละชั้น การแก้รูปทรงของพื้นหลังคาซึ่งแผ่กว้าง ให้เป็นส่วนที่ย้อยลงมา วิธีวางหน้าจั่วเน้นทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ส่วนการว่างรูปทรงวิหาร ให้เตี้ยแจ้ เจาะหน้าต่างเล็กๆ แคบๆ เป็นลักษณะของ วิหารทรงโรง การเปิดประตูกว้างด้านทิศตะวันออก แบบประตูเล็กทิศเหนือ ใต้ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องทิศที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ตัวอย่างเช่น

วัดหนองบัว

อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา เป็นวัดเก่าแก่สร้างด้วยฝีมือของช่างชาวไทลื้อ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อในยุดเริ่มแรก สร้างประมาณปี พ.ศ. 2315 ปัจจุบัน วิหารวัดหนองบัว แห่งนี้ได้มีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบดั้งเดิม ของสถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อ มาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบล้านนา คล้ายกับวัดบุญยืน ที่อำเภอเวียงสานอกจากความโดดเด่นของ รูปทรงของตัวอาคารวิหารแล้ว ภายในวิหารมีจิตรกรรมผาฝนัง อันทรงคุณค่าทางศิลปะ และความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับจิตกรรมฝาหนังวัดภูมินทร์ ตามประวัติกล่าวว่าภาพเหล่านี้เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

วัดหนองแดง

เป็นวัดเก่าโบราณของไทยลื้อ ตั้งอยู่บ้านหนองแดง ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อ โดยช่างชาวไทยลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา) สร้างมาประมาณ 200 กว่าปี มีการบูรณะหลายครั้ง แต่รูปร่างลักษณะภายนอกยังคงรูปเดิมไว้มาก ตัวอาคารผนังสร้างด้วยอิฐก่อ หนาประมาณ 50 เซนติเมตร สูงประมาณ 3.00 เมตร ผนังก่อเรียบ หน้าต่าง สันนิษฐานว่าเจาะเพิ่มเติม และใส่บานทีหลัง ลักษณะรูปทรงหลังคา ตอนล่างลาดคลุมทั้งสี่ด้าน ตอนบนทรงจั่วตัด แบบวิหารทรงโรงด้านหน้าลาดชายคาทิ้งต่อลงมา คลุมมุขหน้า และตั้งเสารับเป็นแถวสามเสามีที่นั่งตรงเฉลียงอิฐก่อครึ่งแผ่นสูง 50 เซนติเมตร พื้นมุขหน้าลดลงมาจากพื้นพระอุโบสถ ประมาณสองขั้นบันใด ด้านข้างทิศเหนือต่อชายคาออกมาคลุมทรงประตูเล็กน้อย และเปิดทางออก เช่นเดียวกับด้านหลัง ซึ่งใช้ลักษณะต่อชายคา ออกมาคลุมเช่นเดียวกัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2524

วิหารต้นแหลง

ตั้งอยู่ เลขที่ 20 บ้านต้นแหลง หมู่ที่ 2 ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 วิหารของวัดต้นแหลง เป็นวัดเก่าแก่แบบไทยลื้อรุ่นแรก ๆ ซึ่งลักษณะเด่นชัดของวิหารวัดต้นแหลง สามารถสรุปในประเด็นที่น่าสนใจได้ดังต่อไปนี้

- การวางหลังคารูปทรงตะคุ่ม ลาดต่ำและลดหลั่นกันลงมาทีละชั้นจนถึงชั้นล่าง การแก้รูปทรงของผืนหลังคา ซึ่งแผ่กว้างให้เป็นส่วนที่ย้อยลงมา วิธีวางหน้าจั่วเน้นทางทิศตะวันออกและตกเป็นส่วนสำคัญของวิหารทรงตะคุ่มแบบนี้

- การวางรูปทรงวิหารให้เตี้ยแจ้ โดยใช้บัวที่ฐานประดับตกแต่งลดความสูงรูปด้านลงพร้อมกับเจาะซ่องหน้าต่างเล็ก ๆ แคบ ๆ ให้ความสำคัญกับรูปด้านซึ่งเป็นลักษณะของ"วิหารทรงโรง" อันเป็นลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของไทยลื้อ

- การเปิดประตูกว้างด้านทิศตะวันออก และประตูเล็กทิศเหนือและใต้แสดงใหเห็นถึงความเชื่อเรื่องทิศที่ได้รับอิทธิพลจากอันเดีย การเน้นทางเข้าด้านหน้าด้วยบันใดและประตูกว้าง เพื่อให้แสงอรุณสะท้อนเข้ามาภายในวิหาร พุ่งตรงไปยังพระประธาน นับเป็นวิธีพิเศษประการหนึ่งของช่างไทยลื้อ

พระธาตุเบ็งสกัด

ตั้งอยู่บ้านแก้ม หมู่ที่ 5 ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นสถาปัตยกรรมไทยลื้อ ที่ได้มีการปรับเปลี่ยน รูปแบบหลายครั้ง ลักษณะวิหารเป็นรูปวิหารทรงสูง แต่หลังคาจะกดต่ำแบบช่างล้านนาเดิม มีลาดบัวที่ฐานตอนล่างของพระวิหาร ด้านข้างของวิหาร เจาะหน้าต่าง เป็นบานเล็ก ๆ แคบ ๆ หน้าวิหารมีลักษณะเป็นมุขโถงโล่ง ๆ ขึ้นบันไดด้านหน้า จะถึงโถงมุขหน้าเข้าสู่ภายในวิหาร ซึ่งภายใน ประกอบด้วยเสา รายเรียงสองแถว ตรงสู่แท่นฐานชุกชี ประตูด้านหน้าวิหาร เป็นประตูใหญ่กว้างและสูง ประกอบด้วยลวดลายปูนปั้น ผสมผสานระหว่างศิลปะเก่ากับใหม่

 

สถาปัตยกรรมล้านนา

มีลักษณะที่สำคัญคือ การกำหนดรูปทรงวิหารแบบซ้อนหลังคาซ้อนด้านหน้า 3 ชั้น ทรงหลังคาลาดต่ำลงมาส่วนล่างมาก เช่น วิหารวัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้งที่สำคัญ และแสดงให้เห็น ถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมสกุลช่างน่าน แยกออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่

- วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอกจะมองเห็นเป็นอาคารขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อนด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้า และด้านข้างตรงกลาง

- วิหารพระนอน อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ วิหารก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือทิศใต้

วัดช้างค้ำวรวิหาร

อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนอกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

วัดบุญยืน

ตั้งอยู่อำเภอเวียงสา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2340 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้สร้าง ลักษณะวิหารมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นหลังคามีชั้นลด เช่นเดียวกับวิหาร ในสถาปัตยกรรมล้านนาโดยทั่วไปคือ ด้านหน้ามีชั้นลด 2 ชั้น และด้านหลังมีชั้นลด 1 ชั้น ลักษณะวิหาร แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานรูปแบบทางศิลปะล้านนา ดังเช่นลักษณะการทำชั้น ของหลังคา แต่ในส่วนของผนังหรือหน้าต่าง กลับมีลักษณะแบบวิหารในภาคกลาง ภายในวิหาร มีเสากลมขนาดใหญ ่รับชั้นหลังคา มีการตกแต่งตัวเสาด้วยลวดลายปูนปั้นปิดทองล่องชาด ภายในพระวิหารหลวง ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ลงรักปิดทองศิลปะล้านนาเป็นพระประธาน

วัดภูมินทร์

อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์
สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ ยังมีจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเ
วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านไ
ปรากฎในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ผู้สร้าง
แต่ตอนหลังชื่อวัด ได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดังกล่าว ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ ที่ไม่เหมือนใครและ ไม่มีใครเหมือน เป็นหนึ่งเดียว ในประเทศไทยคือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถ เทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั้งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

วัดสวนตาล

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1993 ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว

 

วัดพระธาตุเขาน้อย

สันนิษฐานว่ามีอายุใกล้เคียงกับพระธาตุแช่แห้ง จากบนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองน่าน และวัดพระธาตุแช่แห้งได้อย่างชัดเจน มีพระพุทธรูปประจำเมืองประดิษฐาน คือ พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

ตั้งอยูในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่เรียกว่า "หอคำ" โดย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่านสร้างขึ้น เป็นที่ประทับเมื่อปี พ.ศ.2446 ลักษณะตัวอาคารโอ่โถง งดงาม ก่ออิฐถือปูนแข็งแรง แต่ตกแต่งให้อ่อนช้อยสวยงามด้วยลายลูกไม้นับเป็น สถาปัตยกรรมก่อสร้าง ที่ดีเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนั้น บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ พระเจ้าสุริยพงศ์ผลิตเดช ผู้เป็นเจ้าของหอคำแห่งนี้ด้วย กรมศิลปากรได้รับมอบอาคารหอคำ เพื่อใช้เป็นอาคาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เมื่อปี พ.ศ.2517 จัดแสดง โบราณวัตถุ ตลอดจนสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยา ประจำท้องถิ่น มาจัดแสดงให้ชมอย่างมีระบบ และระเบียบสวยงาม คือ

- ส่วนที่เป็นห้องจัดแสดงชั้นล่างจัดแสดงชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับล้านนา เช่น ลักษณะอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การทอผ้า และผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่าง ๆ ที่สวยงามมาก การสาธิต งานประเพณีและความเชื่อต่างๆ เช่น การแข่งเรือ การจุดบ้องไฟ สงกรานต์และพิธีสืบชะตา เป็นต้นที่น่าสนใจ ในการจัดแสดงห้องโถงชั้นล่าง นี้ยังมีการจัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ และเครื่องใช้ของชนกลุ่มน้อย ในจังหวัดน่านรวม 5 เผ่าด้วยกัน คือ ไทลื้อ ม้ง เย้า ถิ่น และตองเหลือง

- ส่วนบริเวณห้องจัดแสดงชั้นบนเป็นการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน การสร้างเมือง และโบราณสถานที่สำคัญ รูปถ่ายโบราณ งานประณีตศิลป์ เครื่องใช้เงินตรา อาวุธ ศิลาจารึก และเครื่องถ้วย ที่ค้นพบในเมืองน่าน ที่สำคัญที่สุดคือ ห้องเก็บ งาช้างดำ ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองน่านตามประวัติกล่าวว่า ได้มาจากเมืองเชียงตุงตั้งแต่โบราณ เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย ถึงแก่พิราลัย เจ้านายบุตรหลาน จึงมอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดินพร้อมหอคำ ลักษณะของงาช้างดำนี้เป็นงาปลี ยาว 94 เซ็นติเมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ส่วนปลายมน มีจารึกอักษรธรรมล้านนาภาษาไทย กำกับไว้ว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" หรือประมาณ 18 กิโลกรัม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียม เข้าชมคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท ทั้งยังมีการบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ การจำหน่ายเอกสารสำคัญและหัตถกรรมพื้นบ้านและสินค้าที่ระลึกต่าง ๆ น่าสนใจมาก

(watpumin) 2009620_79137.jpg

 

สถาปัตยกรรมร่วมสมัย

วัดมิ่งเมือง

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านมิ่งเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารหลังเดิม คงเป็นช่างฝีมือแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ต่อมาภายหลังได้มีการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงรูปแบบ กลายเป็นสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานกับแนวความคิดสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเน้น ที่เด่นชัดของวิหารวัดมิ่งเมือง ก็คือ ลวดลายศิลปะปูนปั้น ที่ประดับตกแต่งตัววิหาร มีความสวยงามวิจิตรบรรจงมาก นับเป็นงานฝีมือของช่างปูนสมัยใหม่ในยุดปัจจุบัน

 

 

เจดีย์

เจดีย์เป็นอนุสรณ์สถานประเภทหนึ่ง นิยมสร้างเป็นประธานของวัดมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม และภายหลัง มาสร้างเป็นบริวาร องค์ประกอบของศาสนสถาน ที่เป็นหลักของวัด เจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบปิด กล่าวคือ ส่วนมากก่อเป็นรูปทรงกลมทืบตัน ไม่มีที่ว่างภายใน รูปทรงของเจดีย์ที่ปรากฏทั่วไป มีลักษณะคล้ายรูปลอมฟาง มียอดกรวยแหลมและขวั้นเป็นปล้อง ๆ สูงเสียดขึ้นไปในอากาศ ความหมายของคำว่า "เจดีย์" มาจากคำว่า "เจติยะ" แปลว่า "สิ่งอันมีความสำคัญควรแก่การบุชา"

สำหรับสถาปัตยกรรมประเภทเจดีย์ของน่าน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดน่านนั้น ในที่นี้จะเสนอเพียงตัวอย่าง ของเจดีย์บางแห่งที่มีรูปแบบ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะขององค์เจดีย์ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เจดีย์วัดพญาวัด

เจดีย์วัดพญาวัด ตั้งอยู่บริเวณวัดพญาวัด บ้านพญาวัด หมู่ที่ 6 ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นเจดีย์เก่าแก่และสวยงาม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1538 ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น มีชั้นบัวหงายคั่น ฐานบัวแก้วย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นชั้นสี่เหลี่ยมเรียงซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มจรนัม ก่อยอดเป็นรูปวงโค้ง ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน

รูปแบบของเจดีย์องค์นี้ จัดเป็นเจดีย์แบบพิเศษซึ่งพบเฉพาะศิลปะล้านนาระยะแรก สันนิษฐานว่า จำลองแบบมาจากเจดีย์วัดกู่กด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 และมีการต่อเติม สร้างขึ้นมาภายหลัง ทั้งนี้เพราะส่วนฐานขยายสูงขึ้น โดยเพิ่มหน้ากระดานสี่เหลี่ยม และฐานบัวลูกแก้ว เข้ามารองรับ ชั้นซ้อนจรนัม ส่วนการก่อวงโค้งยอดซุ้มคงได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงเรือนธาตุศิลปล้านนา ที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 21

เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูนมีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัวลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้วลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง

พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน เป็นพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามประวัติสร้างเมื่อ พ.ศ. 1896 อายุราว 600 ปีเศษ องค์กระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุที่มีขนาดสูงถึง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่ามเนื่องจากบุด้วยแผ่นทองเหลือง พระธาตุนี้ ตั้งอยู่บนยอดดอยภูเพียงแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ลักษณะของเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานทำเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รองรับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กบัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลม เป็นกระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยม ตกแต่งคล้ายกลีบบัว หรือลายใบไม้แทน ลายดังกล่าวนี้คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง เมื่อล่วงเข้าพุทธศตวรรษที่ 24 แล้ว

เจดีย์วัดหัวข่วง

เจดีย์วัดหัวข่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงประสาท หรือเรือนทอง อิทธิพลศิลปะล้านนา ฐานล่างทำเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยม รับฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น มีชั้นหน้ากระดานคั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อเก็จรับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัม ด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ที่มุมผนังทั้งสองข้าง ปั้นเป็นรูปแทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เหนือชั้นอัสดงตอนสุดเรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ ลักษณะของรูปทรง โดยส่วนรวมคล้ายกับเจดีย์วัดโลกโมลี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า รวม พ.ศ. 2071 แต่สวนฐานล่าง และชั้นบัวถลาของเจดีย์นี้ยึดสูงขึ้น ทำให้มีลักษณะเรียวสูงกว่า แสดงถึงพัฒนาการ ทรงรูปแบบที่ช่างเมืองน่าน ดัดแปลงนำมาใช้ในระยะหลัง ซึ่งคงมีอายุไม่เก่าไปกว่าครึ่งแรกของพุทธศตวรรณที่ 22

เจดีย์พระธาตุเป็งสะกัด

เจดีย์พระธาตุเป็งสะกัด ตั้งอยู่บ้านแก้ม หมู่ที่ 5 ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ความหมายของพระธาตุตามตำนาน หมายถึงสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากบ่อดิน ที่ใช้ไม้แหย่ลงไปแล้วไม้ขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมากัดให้ขาด และมีลำแสงเกิดขึ้น ลักษณะของเจดีย์นี้เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างโดยพญาภูคาในปี พ.ศ. 1826 สร้างก่อนพระวิหาร และได้รับการบูรณะจากกษัตริย์ราชวงศ์น่านหลายสมัยสืบเนืองต่อกันมา เจดีย์เป็นรูปทรง ฐานระฆังคว่ำ เป็นมุมแปดเหลี่ยมลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ไม่มีลวดลายเป็นศิลปะแบบพะเยา หรือที่เรียกว่าเจดีย์ ทรงพะเยา ซึ่งมีมากที่พะเยา เชียงรายและบริเวณแถบใกล้เคียง

เจดีย์วัดสวนตาล

เจดีย์วัดสวนตาล ตั้งอยู่ภายในวัดสวนตาล อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน แต่เดิมองค์เจดีย์แห่งนี้ เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูมแบบสุโขทัย ซึ่งแสดงว่าได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรม มาจากสุโขทัยมาก่อน เป็นยุดเดียวกับเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหารฯ ต่อมาภายหลัง เจดีย์องค์นี้ ได้มีการบูรณะซ่อมแซม เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

 

 

หอไตร

หอไตร หมายถึง อาคารหรือสถานที่เก็บพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม, หอพระธรรมมณเฑียร,หอพระธรรม ,หอธรรม ,ปิฎกพระหรือหอพระไตรปิฏก

การสร้างที่เก็บพระไตรปิฏกมีมาตั้งแต่มีการจารึกพระธรรมลงบนวัสดุต่าง ๆ แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึง จนกระทั่งพุทธศตวรรณที่ 7 ตรงกับสมัยพระเจ้ากนิษกะที่ 2 แห่งอินเดีย จึงได้มีการกล่าวถึงการเก็บจารึกพระธรรมคำสอนบนแผ่นทองแดง แล้วบรรจุหีบศิลา เก็บไว้ในปราสาท ซึ่งสร้างไว้เก็บพระคัมภีร์โดยเฉพาะในประเทศไทยแต่เดิมเก็บไว้ในพระมหาราชวัง ต่อมาจึงมีการสร้าง หอพระไตรปิฎกขึ้น จนกระทั่งหลังรัชกาลที่ 3 ก็คลายความนิยมลงและเปลี่ยนแปลงรูปทรงตลอดจนประโยชน์ใช้สอย เนื่องจากมีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่ม ทำให้ลดเนื้อที่ในการเก็บลง จึงนิยมสร้างเป็นอาคารอเนกประสงค์ขึ้นแทน ลักษณะของ หอไตรในประเทศไทย มีลักษณะและรูปแบบ หลากหลายตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ยุคสมัย และปัจจัยในการสร้าง และมีลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกว่าเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกก็คือ เป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็ก 1 - 2 ห้อง ปลูกสร้างอยู่ค่อนข้างโดดเด่น สร้างอยู่กลางสระน้ำมีประตูเข้าทางเดียวและไม่มีบันใดขึ้น

ส่วนหอไตรในจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ปลูกไว้บนบกเป็นอาคารสูงใต้ถุนโปร่งหรือก่อทึบ ส่วนใหญ่จะทำบันใดไว้ในตัวอาคาร แต่บางแห่งใช้บันใดพาดขึ้นทางด้านนอกรูปทรงโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับวิหาร หรืออุโบสถ ตัวอย่างหอไตรในจังหวัดน่านที่น่าสนใจมีดังนี้

หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร

สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัติของพระองค์ว่า "ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏก ในบริเวณวัดช้างค้ำ 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สักมุงกระเบื้องไม้สักทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว 2 ข้าง และเพดานทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อินเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงกับจีนอิ๋วจีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท

ลักษณะ โครงสร้างสถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าคู่กับพระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสารายรับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิดทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาททำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบันใช้แผ่นไม้เรียงต่อกันเป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลัก ลายกนกเป็นรูปสามเหลี่ยมสลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา

ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึกเข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมากใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี

หอไตรวัดภูมินทร์

ลักษณะ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิม เมื่อ 5 มีนาคม 2537 อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใดภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา

หอไตรวัดหัวข่วง

ลักษณะ อาคารสี่เหลี่ยมทรงสูงใต้ถุนก่อทึบ มีทางเข้าทางเดียว มีบันใดภายใน ตัวอาคารชั้นบน ฝาทำด้วยไม้ มีหน้าต่างด้านละหนึ่งช่องยกเว้นด้านหลัง หลังคาจั่วลดชั้นแบบปั้นหยา หลังคาชั้นบน มีช่อฟ้าใบระกา

 

หอไตรวัดนาปัง

ลักษณะ อาคารสี่เหลี่ยมทรงสูงใต้ถุนโปร่ง มีเสาขนาดใหญ่บนฐานสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูนจำนวน 12 ต้น ตั้งอยู่บนฐานปัทม์ ฝาทำด้วยไม้ มีคันทวยไม้แกะสลักรองรับชายคาด้านละ 4 อัน หลังคาจั่ว ลดชั้นแบบปั้นหยา มีช่อฟ้าใบระกา

หอไตรวัดทุ่งน้อย

ลักษณะ อาคารขนาดค่อนข้างเล็กกว่าที่อื่น ๆ ใต้ถุนโปร่ง มีลักษณะพิเศษฝาด้านนอกแกะสลักลวดลาย ส่วนหลังคาเดิมคงเป็นหลังคาจั่วลดชั้นแบบปั้นหยา แต่ในปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่

 

ชื่อเรียกอื่น Cinnamon Tree Sparrow , Cinnamon Sparrow , Ruddy Sparrow

นกนกกระจอกที่ไม่กระจอกหาดูได้ยากที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาจังหวัดน่าน

นกกระจอกป่าท้องเหลือง อยู่ในวงศ์นกกระจอก Family Passeridae นกในวงศ์นี้มีขนาดเล็กมาก จนถึงขนาดเล็ก ลักษณะภายนอกค่อนข้างแตกต่างกัน , ปาก ยาวปานกลาง ปลายปากแหลม หรือ ปากสั้นเป็นปากกรวย , หาง ยาวปานกลาง ปลายหางแหลม มน ตัด หรือ เว้าตื้น . อาศัยและ หากินตามทุ่งโล่ง หมู่บ้าน หรือ ชายแหล่งน้ำ มีทั้งที่หากินตามกิ่งไม้ และ บนพื้นดิน กินแมลง ธัญพืช และ เมล็ดของไม้ต้น , รัง มีรูปร่างแตกต่างกัน ตั้งแต่แบบง่ายๆ จนถึง แบบรังแขวน มีการสานวัสดุ อย่างละเอียดลออ

นกในวงศ์นี้ กำเนิดมาตั้งแต่สมัยไมโอซีน ในยุคเทอร์เชียรี่ หรือประมาณ 25 - 13 ล้านปีมาแล้ว กระจายพันธุ์ทั่วโลก มีทั้งหมด 57 สกุล 386 ชนิด แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ย่อย ประเทศไทยพบ 4 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ย่อยนกกระจอก วงศ์ย่อยนกเด้าลม วงศ์ย่อยนกกระจาบ และ วงศ์ย่อยนกกระติ๊ด

 

วงศ์ย่อยนกกระจอก Subfamily Passeinae นกในวงศ์ย่อยนี้ มีปากอ้วน หนา ประมาณ 3 ใน 4 ของความยาว หรือ มากกว่า, สันขากรรไกรล่าง ยาวกว่า ความกว้างของปาก , รูจมูกมน มุมปากมีขนแข็ง , ขนปลายปีก 3 เส้น เส้นนอกสุด ยาวที่สุด , ปีก ยาวกว่าแข้ง , หาง ยาวประมาณ 3 ใน 4 ของปีก , นิ้วกลาง รวมทั้งเล็บ ยาวเท่ากับแข้ง . ทำรังบนต้นไม้ ตามซอก หรือชายคาบ้าน หรือ สิ่งก่อสร้าง , รัง เป็นรูปกระโจม หรือ ทรงกลม อาศัย และ ทำรังรวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีหลายชนิดที่ตัวผู้ และ ตัวเมีย มีสีแตกต่างกัน ทั่วโลกมีนกในวงศ์ย่อยนี้ 4 สกุล 36 ชนิด ประเทศไทยพบ 1 สกุล คือ สกุลนกกระจอก Genus Passer

 

นกกระจอกป่าท้องเหลือง อยู่ในสกุลนกกระจอก Genus Passer ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ passer แปลว่า นกกระจอก ลักษณะของสกุลไม่แตกต่างจากลักษณะของวงศ์ย่อย ทั่วโลกมีนกในสกุลนี้ 23 ชนิด ประเทศไทยพบ 4 ชนิด คือ นกกระจอกใหญ่ ( Hiouse Sparrow ) , นกกระจอกป่าท้องเหลือง ( Russet Sparrow ) , นกกระจอกตาล ( Plain - backed Sparrow ) และ นกกระจอกบ้าน ( Eurasian Tree Sparrow )

 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passer rutilans ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละติน คือ rutilans ( รากศัพท์ภาษาละติน คือ ruti ) แปลว่า สีแดง หรือ สีออกแดง ความหมายคือ " นกที่มีสีออกแดง " ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Passer rutilans intensior พบครั้งแรกและจำแนกชนิดที่ ประเทศลาว

 

รูปร่างลักษณะ ชนิดย่อยที่มีการแพร่กระจายกว้างขวางที่สุด และ ถือเป็นชนิดอ้างอิงหลัก คือ P . r. intensior ซึ่งพบในไทยเช่นกัน มีลักษณะดังนี้คือ เป็นนกขนาดเล็กมาก คามยาวจากปลายปากจดหาง 14 ซม. นกตัวผู้ คล้ายนกกระจอก บ้าน แต่ กระหม่อม ขนคลุมหลัง โคนปีก และ ตะโพก เป็นสีน้ำตาลแดง , ใบหน้าด้านข้าง และ กลางอก มีสีออกเหลืองจางๆ บริเวณหู ไม่มีลายแถบสีดำ , หัวด้านข้าง และ ลำตัวด้านล่าง มีตั้งแต่ สีขาวขุ่น โดยบริเวณอก และ สีข้างสีเทา จนถึง สีเหลือง อ่อน โดย อก และ สีข้างมีสีเทาแกมเหลือง , ปีก มีแถบกว้าง สีขาว บริเวณไหล่ มีขีดประปราย สีดำ แตกต่างจากนกกระจอกตาลตัวผู้ โดย กระหม่อม มี สีน้ำตาลแดง , หลัง มีแถบกว้างสีดำ

 

นกตัวผู้ในขนชุดฤดูแรก คล้ายนกตัวผู้ที่เต็มวัย แต่ จะมีสีคล้ำกว่า , ท้อง สีออกเทาอมน้ำตาล บางส่วนมีสีดำ หรือ เทาแทรกปนอยู่ด้วย

 

นกตัวเมีย คล้ายนกกระจอกตาลตัวเมีย แต่ ลำตัวด้านบน มีสีน้ำตาล เข้มกว่า , ปีก มีแถบสีเนื้อ 2 แถบ , หลัง มีลายขีดสีดำ จำนวนมากกว่า , ตะโพก สีเหลืองแกมน้ำตาล ถึง สีน้ำตาล และ คล้ายนกกระจอกบ้านตัวเมีย แต่ ต่างกันที่ ขีดสีเข้ม ที่ลากผ่านตา จะเห็นชัดเจนกว่า เนื่องจาก ขีดที่คล้ายคิ้วมีสีจางกว่า สีของขนในบริเวณโดยรอบ , ขนคลุมขนกลางปีก มีลายเป็นขีดๆ สีขาว , ใต้คอ มีสีเหลืองครีม ตรงกลางคอ มีแถบจางๆสีเทา , ท้อง และ ตะโพก มีสีเหลืองครีม หรือ เหลืองนวล

 

นกที่ยังไม่เต็มวัย คล้ายนกตัวเมีย แต่บริเวณกระหม่อม หลัง และ ไหล่ มีแต้มสีน้ำตาลอ่อน , คิ้ว สีเนื้อ , ปาก มีสีอ่อน

 

นิสัยประจำพันธุ์ พบตามทุ่งโล่ง และ แหล่งกสิกรรม ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่ง ระดับความสูง 2,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูง บางฝูงมีจำนวนมากกว่า 50 ตัว มักเกาะตามกิ่งของต้นไม้แห้ง แต่ ส่วนใหญ่หากินตามพื้นดิน โดยกินเมล็ดพืช ธัญพืช แมลง ตัวหนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เป็นอาหาร

แหล่งอาศัยหากิน บริเวณที่เป็นที่โล่งของป่า แหล่งเกษตรกรรม บนพื้นที่สูง พบตั้งแต่ระดับ 1,100 - 2,680 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในฤดูหนาว อาจลงมาหากินที่ระดับต่ำกว่านี้

 

ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ ในแหล่งทำรังวางไข่ ทำรังในเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม โดยจะทำรังในซอกโพรงต้นไม้ หรือ ซอกแตกในกำแพง หรือ อาคาร สูงจากพื้นได้ถึง 9 เมตร วางไข่ครอกละ 4 - 5 ฟอง เปลือกไข่ สีเทา หรือ เขียวอ่อนๆ มีขีดสีเข้มจำนวนมาก มักทำรังอยู่ใกล้ๆกัน เป็นจำนวนมาก

 

การแพร่กระจายพันธุ์ เป็นนกประจำถิ่น ที่มีการย้ายแหล่งหากินไปตามชั้นความสูงต่างๆ ทางภาคเหนือ ของ ปากีสถาน , ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของ อินเดีย , เนปาล , ภูฐาณ , ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ ทิเบต , จีน( ยกเว้น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ )

, ไต้หวัน , ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ของ เกาหลี , ญี่ปุ่น

 สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่น ที่พบได้ทั่วไป ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคตะวันออก ของ เมียนม่าห์ , ภาคเหนือ ของ ลาว , ภาคตะวันตก ของ ตังเกี๋ย , เป็นนกอพยพที่หายากมาก ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือบางแห่ง ของ ประเทศไทย

 สำหรับประเทศไทย เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบเฉพาะบางแห่งทางภาคเหนือตอนบนสุด และ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แหล่งที่มีรายงานการพบเสมอ คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่งภายในอุทยานแห่งนี้ จะมีร่อยรอยเดิมของการทำไร่เลื่อนลอย จะพบไร่ร้างเป็นพื้นที่โล่งเตียน ตามเนินเขาจนถึงยอดเขาอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นเขาหัวโล้น ที่เหลือต้นไม้ใหญ่กระจายเป็นหย่อมเล็กๆ ตามลาดเขาสูงชัน และ ตามซอกเขา ข้างหุบเหว ตามบริเวณ ที่เป็น ที่โล่ง มีวัชพืชขึ้นปกคลุม มีเมล็ดหญ้าร่วงหล่นตามพื้นที่โล่ง ซึ่งมีหญ้าขึ้นเตี้ยๆ ปกคลุมผิวดิน จะพบนกกระจอกป่าท้องเหลือง ลงหากินเป็นฝูงขนาดเล็ก จำนวน 15 - 50 ตัว ดูเผินๆ จะคล้ายนกกระจอกบ้าน แต่นักดูนกจะผิดสังเกตที่เหตุใด จึงมาพบนกกระจอกบ้าน กลางทุ่งโล่ง บนที่สูงขนาดนี้ และ ไม่มีหมู่บ้าน หรือ แหล่งชุมชนอยู่ใกล้เคียงเลย สภาพเป็นป่าเขาโดยแท้ แม้จะเป็นไร่ร้าง หรือ ไร่เลื่อนลอย นั่นแสดงว่า คุณอาจพบ นกกระจอกป่า ท้องเหลือง ที่หายาก ไม่กระจอก สมชื่อ แล้ว ให้พิจารณาให้ละเอียด จะเห็นสีของกระหม่อม และ ลำตัว สีน้ำตาลแดงสดเข้มมาก โดยเฉพาะ นกตัวผู้ จะไม่มีแถบสีดำที่ด้านข้างของหน้า เหมือน นกกระจอกบ้านที่เราคุ้นเคย เมื่อนกชนิดนี้ตกใจ จะบินขึ้นทั้งฝูงไปเกาะอยู่บนยอดไม้สูงลิบ ซึ่งผิดวิสัยนกกระจอกบ้าน ซึ่งจะไม่เกาะสูงมากขนาดนั้น อาจดูไม่สวย ไปกว่า นกกระจอกบ้าน สักเท่าไหร่ แต่ ความสำคัญอยู่ที่ว่า นี่คือนกตัวใหม่ของคุณ อีกชนิดหนึ่ง ที่หาดูยาก ไม่กระจอกเลย ( ยกเว้นคนไป ญี่ปุ่น ก็คงจะเมินหน้า ไม่มอง เป็นแน่ )

 แหล่งข้อมูล : " นกในเมืองไทย " โดย รศ. โอภาส ขอบเขตต์

 " A field guide to the birds of Thailand and South - east Asia " by Craig Robson

 ภาพโดย Photographer : Kwan Po Kuen

 มีใครรู้บ้างว่าช่องจีโอกราฟฟิคมาถ่ายทำสารคดีกว่างที่อำเภอปัว(ชื่อว่าคิงคองตอนนี้ตายไปแล้ว)

และได้รับรางวันชนะเลิศ ณ ประเทศสิงคโปร์

เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่กีฬาพื้นบ้านทำให้คนทั่วโลกสนใจ

ใกล้งานเทศการกว่างแล้วถ้ารู้ว่าวันไหนจะเอามาบอกกล่าวอีกที

กว่าง : นักสู้แห่งขุนเขาหรือศึกชิงนาง....?
ชนกว่าง : เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลานานแล้วจนกลายเป็นประเพณี แต่จะเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎ ปัจจุบันยังมีการเล่นกันอยู่แต่อาจจะไม่มากเท่ากับในอดีต
การเล่นชนกว่างของชาวล้านนานิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เฉพาะในฤดูฝนคือประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พอออกพรรษาแล้วก็ค่อยๆเลิกราปล่อยกว่างกลับสู่ธรรมชาติ เพื่อสืบลูกสืบหลานเพื่อการเกิดใหม่ในปีหน้าตามวัฏจักรของมัน
กว่าง : กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี ๖ ขา กว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา กว่างจะชอบกินน้ำหวานจากอ้อย กว่างบางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม
วงจรชีวิตของกว่าง
กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม กว่างทั้งตัวผู้และตัวเมียจะขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อมาผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดินจนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงค์ชีวิตสืบลูกหลานต่อไป
การจับกว่าง
ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม–ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านในสมัยก่อนมีเวลาว่าง เพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลังตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การหากว่างหาได้จากตามสุมทุมพุ่มไม้หรือป่าในเขตของหมู่บ้านที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้
อีกวิธีหนึ่งคือการตั้งกว่างหรือใช้กว่างล่อ โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบนหรือใช้กล้วยน้ำหว้าใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน การแขวนไม่ให้สูงมาก ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อ จะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนให้เข้ามาหาเพื่อติดกับโดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ถ้าเป็นกว่างโซ้งก็นำไปเลี้ยงไว้เพื่อชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็เก็บไว้เป็นกว่างล่อ ถ้าเป็นกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป๋องและใส่อ้อยข้างในเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน
ชนิดของกว่าง
กว่างมีหลายชนิดเช่น
กว่างก่อ กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้กันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายมาขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งมักจะชนะทุกครั้ง โดยปกติแล้วกว่างก่อนี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงไม่นิยมนำมาชนแข่งกัน
กว่างกหมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น(กิแปลว่าสั้น) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่สามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิมี 2 ชนิดคือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุ
กว่างงวง : กว่างหน่อ กว่างงวงหรือกว่างหน่อคือด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าวมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง : เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก
กว่างโซ้ง : กว่างโซ้ง ตัวผู้มีเขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบน ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ซี่ ๆ” ตลอดเวลา นิยมใช้ชนกัน
กว่างแซม : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก กว่างชนิดนี้เลี้ยงไว้เป็นคู่ซ้อมหรือให้เด็กๆเล่นกัน
กว่างฮักหรือกว่างรัก : กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกว่างแซม กว่างชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกัน เพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้งไม่ได้ ดังที่ว่า “กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้”
กว่างดอยหล่อ : ดอยหล่อเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมา จึงมีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่หมู่บ้านดอยหล่อเพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี
กว่างแม่อีหลุ้ม : คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด,กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่างตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย
กว่างหนวดขาว : ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อกันว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาก็จะถอดหนี คือไม่ยอมเข้าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่งหนวดขาวมาก็พยายามยอมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่างทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำเมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออกอีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี
กว่างหาง : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ่ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่งกว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกันแต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่ากันว่ากว่างหางจะไม่เก่งเท่ากว่างโซ้ง
การเลี้ยงกว่าง
เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า “ไม้ผั่นกว่าง” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป “ชายน้ำเหมย” คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง
การชนกว่าง : อุกรณ์การชนกว่าง
1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกันทำด้วยต้นปอหรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมียจากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี “กลิ่น” ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกทีเพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน
ไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่งทำด้วยแกนปอ หรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลบางประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่งเจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็กเพื่อเป็นช่องนำกว่างตัวเมียใส่ ให้หลังของกว่างตัวเมียโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่า ๆ กัน ทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกัน
2.ไม้ผั่น : ไม้ผั่นกว่าง : ไม้ผัด: ไม้แหล็ดหรือไม้ริ้ว ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา “ผั่น” หรือปั่นให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง“กลิ้ง ๆ”ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้าเขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนองหรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง
ลักษณะของกว่าที่จะนำมาชน
ลักษณะกว่างโซ่งที่ดีนั้นต้องมีหน้ากว้าง กางเขาออกได้เต็มที่เขาล่างจะยาวกว่าเขาบนนิดหน่อยถ้าเขาล่างยาวกว่าเขาบนก็จะเรียกว่า “กว่างเขาหวิด” ถือว่าหนีบไม่แรงไม่แน่นกว่างชนที่ดีนั้นส่วนหัวต้องสูง ท้ายทอยลาดลงเป็นสง่า แต่ถ้าท้ายทอยตรงโคนเขาบนเป็นปมไม่เรียบ ถือว่าเป็นกว่างไม่ดี กว่างที่ดีต้องเป็นกว่างที่ฉลาดสอนง่าย
ก่อนที่จะนำกว่างมาชนกันนั้น จะต้องนำกว่างมาเทียบขนาดและสัดส่วนที่เรียกว่า เปรียบคู่ กันเสียก่อน เมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้ว เจ้าของกว่างจะต้องขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกลโกง
ในการชนกว่างแต่ละครั้งมักจะมีการวางเดิมพันกันเพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น กว่างที่ชนะก็ทำให้เจ้าของมีหน้ามีตา แต่ถ้ากว่างแพ้แล้วอยู่ที่เจ้าของว่าจะเลี้ยงต่อหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ
ปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาติ
กว่างเมื่อได้เกิดออกจากดินมาเป็นเวลาประมาณ 3 เดือนแล้ว ก็ใกล้จะหมดอายุขัยแล้ว ตามธรรมเนียมที่เคยทำกันมา เมื่อออกพรรษาแล้วจะนำกว่างตัวเมียมาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ มีกว่างตัวเมียอยู่กี่ตัวก็จะเอามาให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ทุกตัว แล้วนำทั้งกว่างตัวผู้และตัวเมียไปใส่ไว้ในตะกร้าที่มีกล้วยอ้อย นำไปแขวนไว้ตามชายคาบ้านหรือใต้ต้นไม้ ตกกลางคืนกว่างทั้งหลายก็จะผสมพันธุ์กันตามวิสัย แล้วกว่างตัวเมียจะบินไปสู่บริเวณที่เป็นเนินดินแล้วขุดลงไปไข่ไว้ในดิน หลังจากไข่แล้วกว่างตัวเมียก็จะฝังตัวตายอยู่ในที่นั้น ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัวหนอนและเป็นกว่างในปีต่อไป


(nan) 200973_5363.jpg

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 92,510 Today: 3 PageView/Month: 120

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...